บทสวดทำวัตรเช้าพร้อมคำแปล

คําบูชาพระรัตนตรัย

โยโสภะคะวาอะระหังสัมมาสัมพุทโธ, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
สวากขาโตเยนะภะคะวะตาธัมโม,  พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปะฏิปันโนยัสสะภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ, พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
ตัมมะยังภะคะวันตังสะธัมมังสะสังฆัง,อิเมหิสักกาเรหิยะถาระหังอาโรปิเตหิอะภิปูชะยามะ,
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาอย่างยิ่ง, ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น, พร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์, ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้, อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร

สาธุโนภันเตภะคะวาสุจิระปะรินิพพุโตปิ, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว, ทรงสร้างคุณอันสําเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา, ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า, อันเป็นชนรุ่นหลัง
อิเมสักกาเรทุคคะตะปัณณาการะภูเตปะฏิคคัณหาตุ, ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับเครื่องสักการะ, อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้
อัมหากังทีฆะรัตตังหิตายะสุขายะ. เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนาน เทอญ.

คำกราบพระรัตนตรัย

อะระหังสัมมาสัมพุทโธภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธังภะคะวันตังอะภิวาเทมิ. ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
สวากขาโตภะคะวะตาธัมโม, พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว 

ธัมมังนะมัสสามิ. ข้าพเจ้านมัสการ พระธรรม (กราบ)
สุปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ, พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว
สังฆังนะมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

ปุพพะภาคะนะมะการ

(หันทะมะยังพุทธัสสะภะคะวะโตปุพพะภาคะนะมะการังกะโรมะเส)

นะโมตัสสะภะคะวะโต,  ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
อะระหะโต,  ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ.  ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

(ท่อง 3 จบ)

พุทธาภิถุติ

(หันทะมะยังพุทธาภิถุติงกะโรมะเส)

โยโสตะถาคะโต, พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด
อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโรปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถาเทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา, เป็นผู้มีความจําเริญ จําแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
โยอิมังโลกังสะเทวะกังสะมาระกังสะพรัหมะกัง,สัสสะมะณะพราหมะณิงปะชังสะเทวะมะนุสสังสะยังอะภิญญาสัจฉิกัตวาปะเวเทสิ, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว, ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา, มาร, พรหมและหมู่สัตว์, พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์, พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม 
โยธัมมังเทเสสิ, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ทรงแสดงธรรมแล้ว
อาทิกัลยาณัง, ไพเราะในเบื้องต้น
มัชเฌกัลยาณัง, ไพเราะในท่ามกลาง
ปะริโยสานะกัลยาณัง, ไพเราะในที่สุด
สาตถังสะพยัญชะนังเกวะละปะริปุณณังปะริสุทธังพ๎รัห๎มะจะริยังปะกาเสสิ, ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง, พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ
ตะมะหังภะคะวันตังอะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ตะมะหังภะคะวันตังสิระสานะมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า.

(กราบระลึกพระพุทธคุณ)

ธัมมาภิถุติ

(หันทะมะยังธัมมาภิถุติงกะโรมะเส)

โยโสส๎วากขาโตภะคะวะตาธัมโม, พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ, พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จํากัดกาล
เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิ, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
ตะมะหังธัมมังอะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น
ตะมะหังธัมมังสิระสานะมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า.

(กราบระลึกพระธรรมคุณ)

สังฆาภิถุติ

(หันทะมะยังสังฆาภิถุติงกะโรมะเส)

โยโสสุปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ
จัตตาริปุริสะยุคานิอัฏฐะปุริสะปุคคะลา, คู่แห่งบุรุษ 4 คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ 8 บุรุษ
เอสะภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ, นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานํามาบูชา
ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรังปุญญักเขตตังโลกัสสะ, เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ตะมะหังสังฆังอะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น
ตะมะหังสังฆังสิระสานะมามิ, ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า.

(กราบระลึกพระสังฆคุณ)

ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถา

(หันทะมะยังระตะนัตต๎ยัปปะณามะคาถาโยเจวะสังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะภะณามะเส)

พุทโธสุสุทโธกะรุณามะหัณณะโว, พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน, พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด
โลกัสสะปาปูปะกิเลสะฆาตะโก, เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก
วันทามิพุทธังอะหะมาทะเรนะตัง, ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
ธัมโมปะทีโปวิยะตัสสะสัตถุโน, พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป
โยมัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก, จําแนกประเภท คือมรรค ผล นิพพาน ส่วนใด
โลกุตตะโรโยจะตะทัตถะทีปะโน, ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น
วันทามิธัมมังอะหะมาทะเรนะตัง, ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
สังโฆสุเขตตาภยะติเขตตะสัญญิโต, พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย
โยทิฏฐะสันโตสุคะตานุโพธะโก, เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต หมู่ใด
โลลัปปะหีโนอะริโยสุเมธะโส, เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี
วันทามิสังฆังอะหะมาทะเรนะตัง, ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง,วัตถุตตะยังวันทะยะตาภิสังขะตัง,ปุญญังมะยายังมะมะสัพพุปัททะวา,มาโหนตุเวตัสสะปะภาวะสัทธิยา. บุญใดที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม, คือพระรัตนตรัยอันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว, ได้กระทําแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้, ขออุปัททวะ(ความชั่ว) ทั้งหลาย จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย, ด้วยอํานาจความสําเร็จอันเกิดจากบุญนั้น.

สังเวคปริกิตตนปาฐะ

อิธะตะถาคะโตโลเกอุปปันโน, พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้
อะระหังสัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ธัมโมจะเทสิโตนิยยานิโก, และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์
อุปะสะมิโกปะรินิพพานิโก, เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
สัมโพธะคามีสุคะตัปปะเวทิโต, เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ
มะยันตังธัมมังสุต๎วาเอวังชานามะ, พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า
ชาติปิทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิทุกขา, แม้ความโศก ความร่ำไรรําพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิสัมปะโยโคทุกโข, ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ปิเยหิวิปปะโยโคทุกโข, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉังนะละภะติตัมปิทุกขัง, มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะปัญจุปาทานักขันธาทุกขา, ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์
เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
รูปูปาทานักขันโธ,ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป
เวทะนูปาทานักขันโธ,ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา
สัญญูปาทานักขันโธ,ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา
สังขารูปาทานักขันโธ,ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร
วิญญาณูปาทานักขันโธ,ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ
เยสังปะริญญายะ, เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง
ธะระมาโนโสภะคะวา, จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่
เอวังพะหุลังสาวะเก วิเนติ, ย่อมทรงแนะนําสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก
เอวังภาคาจะปะนัสสะภะคะวะโตสาวะเกสุอะนุสาสะนีพะหุลาปะวัตตะติ, อนึ่งคําสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลายส่วนมาก, มีส่วนคือการจําแนกอย่างนี้ว่า
รูปังอะนิจจัง, รูปไม่เที่ยง
เวทะนาอะนิจจา, เวทนาไม่เที่ยง
สัญญาอะนิจจา, สัญญาไม่เที่ยง
สังขาราอะนิจจา, สังขารไม่เที่ยง
วิญญาณังอะนิจจัง, วิญญาณไม่เที่ยง
รูปังอะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน
เวทะนาอะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน
สัญญาอะนัตตา, สัญญาไม่ใช่ตัวตน
สังขาราอะนัตตา, สังขารไม่ใช่ตัวตน
วิญญาณังอะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน
สัพเพสังขาราอะนิจจา, สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
สัพเพธัมมาอะนัตตาติ, ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้
เต (ตา)* มะยังโอติณณามะหะ, พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว
ชาติยา, โดยความเกิด
ชะรามะระเณนะ, โดยความแก่ และความตาย

โสเกหิปะริเทเวหิทุกเขหิโทมะนัสเสหิอุปายาเสหิ, โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย
ทุกโขติณณา, เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเองแล้ว
ทุกขะปะเรตา, เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว
อัปเปวะนามิมัสสะเกวะลัสสะทุกขักขันธัสสะอันตะกิริยาปัญญาเยถาติ, ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, จะพึงปรากฎชัดแก่เราได้
จิระปะรินิพพุตัมปิตังภะคะวะตังสะระณังคะตา, เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า, แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้นเป็นสรณะ
ธัมมัญจะสังฆัญจะ, ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระสงฆ์ด้วย
ตัสสะภะคะวะโตสาสะนังยะถาสะติ,ยะถาพะลังมะนะสิกะโรมะอะนุปะฏิปัชชามะ, จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่, ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกําลัง
สาสาโนปะฏิปัตติ, ขอให้ความปฏิบัตินั้นๆ ของเราทั้งหลาย
อิมัสสะเกวะลัสสะทุกขักขันธัสสะอันตะกิริยายะสังวัตตะตุ. จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.

ปัตติทานะคาถา

(หันทะมะยังปัตติทานะคาถาโยภะณามะเส)

ยาเทวะตาสันติวิหาระวาสินี, ถูเปฆะเรโพธิฆะเรตะหิงตะหิง, เทพยดาทั้งหลายเหล่าใด มีปกติอยู่ในวิหาร สิงสถิตในเรือนพระสถูป ที่เรือนโพธิ ในที่นั้นๆ
ตาธัมมะทาเนนะภะวันเตปูชิตา, โสตถิงกะโรนเตธะวิหาระมัณฑะเล, เทพยดาทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้อันเราทั้งหลายบูชาแล้วด้วยธรรมทาน ขอจงทำซึ่งความสวัสดี ความเจริญในมณฑลวิหารนี้
เถราจะมัชฌานะวะกาจะภิกขะโว, สารามิกาทานะปะตีอุปาสะกา, พระภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระก็ดี ที่เป็นปานกลางก็ดี ที่เป็นผู้บวชใหม่ก็ดี อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายที่เป็นทานาธิบดีก็ดี พร้อมด้วยอารามิกชนก็ดี
คามาจะเทสานิคะมาจะอิสสะรา, สัปปาณะภูตาสุขิตาภะวันตุเต, ชนทั้งหลายเหล่าใด ที่เป็นชาวบ้านก็ดี ที่เป็นชาวต่างประเทศก็ดี ที่เป็นชาวนิคมก็ดี ที่เป็นอิสระเป็นใหญ่ก็ดี ขอชนทั้งหลายเหล่านั้นจงเป็นผู้มีความสุขเถิด
ชะลาพุชาเยปิจะอัณฑะสัมภะวา, สังเสทะชาตาอะถะโวปะปาติกา, สัตว์ทั้งหลายที่เป็นชะลาพุชะกำเนิดก็ดี ที่เป็นอัณฑชะกำเนิดก็ดี ที่เป็นสังเสทะชะกำเนิดก็ดี ที่เป็นโอปปาติกะกำเนิดก็ดี
นิยยานิกังธัมมะวะรังปะฏิจจะเต, สัพเพปิทุกขัสสะกะโรนตุสังขะยัง, สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นได้อาศัยซึ่งธรรมอันประเสริฐเป็นนิยยานิกธรรม ประกอบในอันนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากสังสารทุกข์ จงกระทำซึ่งความสิ้นไปพร้อมแห่งทุกข์เถิด
ฐาตุจิรังสะตังธัมโมธัมมัทธะราจะปุคคะลา, ขอธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายจงตั้งอยู่นาน ขอบุคคลทั้งหลายผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมจงดำรงอยู่นาน
สังโฆโหตุสะมัคโควะอัตถายะจะหิตายะจะ, ขอพระสงฆ์จงมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ในอันทำซึ่งประโยชน์และสิ่งอันเกื้อกูลเถิด
อัมเหรักขะตุสัมธัมโมสัพเพปิธัมมะจาริโน, ขอพระธรรมจงรักษาไว้ซึ่งเราทั้งหลาย แล้วจงรักษาไว้ซึ่งบุคคลผู้ประพฤติซึ่งธรรมแม้ทั้งปวง
วุฑฒิงสัมปาปุเณยยามะธัมเมอะริยัปปะเวทิเตฯ, ขอเราทั้งหลายพึงถึงพร้อมซึ่งความเจริญในธรรม ที่พระอริยเจ้าประกาศไว้แล้ว
ปะสันนาโหนตุสัพเพปิปาณิโนพุทธะสาสะเน, ขอสรรพสัตว์ทั้งปวง, จงเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
สัมมาธารังปะเวจฉันโตกาเลเทโวปะวัสสะตุ, ขอฝนเมื่อจะหลั่งลงมา จงตกต้องตามฤดูกาล
วุฑฒิภาวายะสัตตานังสะมิทธังเนตุเมทะนิง, ขอฝนจงความสำเร็จมาสู่แผ่นดิน, เพื่อความเจริญแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
มาตาปิตาจะอัต๎ระชังนิจจังรักขันติปุตตะกัง, มารดาและบิดาย่อมรักษาบุตรที่เกิดในตนเป็นนิจ ฉันใด
เอวังธัมเมนะราชาโนปะชังรักขันตุสัพพะทาฯ. ขอพระราชาจงปกครองประชาชนโดยธรรมในการทุกเมื่อฉันนั้น เทอญ.

(บทสวดทำวัตรเช้า จบ)